9 วิธีออมเงินอย่างมีความสุข ไม่เป็นภาระทางจิตใจ

9 วิธีออมเงินอย่างมีความสุข ไม่เป็นภาระทางจิตใจ

เชื่อว่าทุกคนอยากจะมีเงินออม มีเงินเก็บด้วยกันทั้งนั้น แต่พอจะเริ่มต้นเก็บเงินทีไร ต้องมีเหตุให้ต้องใช้เงินทุกที จนไม่สามารถเก็บเงินได้ และสุดท้ายก็เข้าวงจรเดิม คือมีเงินเท่าไหร่ก็ใช้หมด ไม่มีเงินเก็บ ซึ่งปัญหานี้เป็นกันค่อนข้างเยอะ แม้แต่ตัวของผู้เขียนเองก็ตาม และไม่ใช่เรื่องที่แปลกอะไร

ความจริงแล้วการเริ่มต้นออมเงินไม่ใช่เรื่องยาก ถ้าหากเรารู้วิธีการเริ่มต้นออมเงินที่ถูกต้อง ที่มีขั้นตอนไม่วุ่นวายเกินไป การจะออมเงินให้ได้สำเร็จตามเป้าก็เป็นเรื่องที่ง่ายขึ้นแล้ว และวันนี้เราก็จะมาแนะนำเกี่ยวกับเคล็ดลับการออมเงินนั่นเอง ว่าควรเริ่มต้นอย่างไร รวมถึงทุกคนจะได้เห็นประโยชน์ของการออมเงินด้วย

การออมเงิน คืออะไร?

การออมเงิน คือการเก็บเงินไว้เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับอนาคต หรือที่หลายคนเรียกกันติดว่า เป็นการ “จ่ายเงินให้ตัวเองก่อน” ก่อนเอาไปใช้จ่ายอย่างอื่น

การจ่ายเงินให้ตัวเองก่อน คืออะไร?

จ่ายเงินให้ตัวเองก่อน หมายถึง การเก็บเงินส่วนหนึ่งไว้ในบัญชีออมทรัพย์ก่อนจะแบ่งส่วนที่เหลือไปใช้จ่าย หลักการนี้ถือเป็นหลักการสำคัญในการออมเงินให้ประสบความสำเร็จด้วย

9 วิธีออมเงินอย่างมีความสุข

หากท่านใดที่กำลังเริ่มต้นออมเงิน หรือกำลังคิดอยากจะออมเงิน แต่ยังไม่รู้เลยว่าจะเริ่มต้นอย่างไรดี ลองเอา 9 วิธีออมเงินต่อไปนี้ไปลองทำตามดู เชื่อว่าจะทำให้คุณรู้สึกสบายใจกับการออมเงินมากขึ้น

1.กำหนดเป้าหมายในการออมเงิน

  • ถ้าเรารู้เป้าหมายในการออม ก็จะมองเห็นภาพได้ชัดขึ้น ว่าเราต้องออมเงินให้ได้อีกเท่าไหร่ อีกกี่บาท
  • คนที่ไม่มีเป้าหมายในการออมเงิน ส่วนใหญ่มักจะล้มเหลวในการออม

ตัวอย่างขั้นตอนของการตั้งเป้าหมายในการออมเงิน

  • ระบุเป้าหมายของเราว่าต้องการออมเงินเท่าใด เช่น 100,000 บาท 500,000 บาท เป็นต้น
  • กำหนดว่าคุณจะฝากบัญชีไว้ที่ไหน เปรียบเทียบบัญชีออมทรัพย์ประเภทต่าง เช่น บัญชีออมทรัพย์ทั่วไป กับบัญชีออมทรัพย์แบบฝากประจำ
  • กำหนดเส้นตาย การกำหนดเส้นตายจะทำให้เรามีแรงบันดาลใจและช่วยให้คุณไม่หลงทางในขณะที่ยังออมเงินในแต่ละเดือนได้ ถือเป็นการเร่งตัวเองในทางอ้อมด้วย
  • คำนวณจำนวนเงินที่ต้องออมในแต่ละเดือน โดยการเอาจำนวนเงินที่คุณต้องการตั้ง หารด้วยจำนวนเดือนคุณต้องการออมเงิน 100,000 บาท ภายในระยะเวลา 2 ปี (24 เดือน) แสดงว่าคุณต้องออมเดือนละ 4,167 บาท แล้วลองดูว่ามีความเป็นไปได้หรือไม่ ถ้าได้ก็ให้ยึดตามแผน ถ้าไม่ได้ ก็ให้วางแผนใหม่

2. เข้าใจรายรับและรายจ่ายของตัวเรา

  • การจะเข้าใจรายรับ-รายจ่ายของเราได้นั้น มีอยู่วิธีเดียวก็คือ การทำบัญชีรายรับรายจ่ายอย่างละเอียดในแต่ละเดือน
  • บัญชีรายรับ-รายจ่าย จะทำให้รู้ว่าเงินที่เข้ามาแต่ละเดือน ไปอยู่ที่ไหนบ้าง และเป็นจำนวนเงินเท่าไหร่
  • ให้ติดตามเงินรายรับทุกอย่างที่เข้ามา แล้วนำมาจดบันทึกลงในบัญชีทันที
  • หากมีการใช้เงิน จะเป็นเงินมากหรือน้อย ก็ต้องจดบันทึกลงบัญชีทันทีเช่นเดียวกัน
  • การทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย จะทำให้คุณมองเห็นภาพว่าจะลดเงินส่วนใดได้บ้าง เพื่อนำมาเก็บเป็นเงินออม
  • การทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย แนะนำให้แบ่งหมวดหมู่ให้ชัดเจน เพื่อความสะดวกในการวางแผนต่อไป

3. ลดค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน

  • เมื่อเราทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย ก็จะมองเห็นภาพได้ชัดเจน ว่าเงินส่วนใหญ่หมดไปกันอะไรบ้าง
  • ให้ลองตรวจสอบค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ว่ามีตรงไหนที่เราสามารถลดค่าใช้จ่ายได้ เช่น การทานข้าวนอกบ้าน การซื้อเครื่องสำอาง การท่องเที่ยว รายการเหล่านี้เราสามารถที่จะลด หรือว่าจะตัดออกได้
  • เมื่อตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกแล้ว ให้นำเงินส่วนนั้นเข้ามาเพิ่มในบัญชีเงินออม ก็จะทำให้ตัวเลขเงินออมเพิ่มเร็วขึ้น โดยที่ไม่ส่งผลกระทบกับค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น
  • สำหรับค่าใช้จ่ายในส่วนที่จำเป็น เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ตรงนี้เราก็ประหยัดได้เช่นกัน ด้วยการใช้ให้น้อยลง หรือใช้เฉพาะแค่ยามจำเป็นเท่านั้น ก็จะทำให้ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานในแต่ละเดือน ลดลงไปได้

4. หาช่องทางเพิ่มรายได้

  • การหารายได้เพิ่ม จะให้เราบรรลุเป้าหมายในการออมได้เร็วขึ้น
  • วิธีการหารายได้เพิ่มมีรายช่องทาง เช่น
  • การทำงานเสริม
  • การทำงานพาร์ทไทม์
  • การรับงานพิเศษตามทักษะที่ตนเองถนัด
  • การเจรจาขอเพิ่มเงินเดือนกับนายจ้างตามความเหมาะสม
  • การเปลี่ยนงานใหม่

5. ทำให้การออมเป็นระบบอัตโนมัติ

  • การบอกตัวเองว่าเราจะออมเงินทุกเดือนเป็นเรื่องยาก และอาจจะทำให้ลืมได้ในบ้างครั้งที่จะลืมออม
  • วิธีที่ง่ายที่สุดก็คือ การตั้งให้โอนอัตโนมัติในแอปพลิเคชั่นธนาคาร ซึ่งปัจจุบันสามารถตั้งได้แล้ว
  • วิธีนี้จะช่วยป้องกันการลืม และไม่ต้องลังเลว่าเดือนนี้จะออมหรือไม่ออมดี เป็นการสร้างวินัยที่ดีให้กับเราด้วย
  • หากเดือนไหนคุณมีรายรับที่มากขึ้น อาจจะโอนให้เก็บออมให้มากกว่าทุกเดือนก็ได้ ยิ่งจะทำให้เงินออมครบตามเป้าเร็วขึ้นไปอีก

6. จัดการหนี้ที่มีดอกเบี้ยสูง

  • หนี้สินคืออุปสรรคของการเก็บออมเงินที่ใหญ่ที่สุด แต่ถ้ามีวิธีจัดการที่ดี ก็ไม่มีอะไรที่ต้องกังวล
  • แนะนำว่าเราควรเลือกชำระหนี้ให้หมดโดยเร็วจะดีที่สุด โดยเฉพาะหนี้ที่มีดอกเบี้ยสูง
  • ถ้าปิดหนี้ที่มีดอกเบี้ยสูงได้ ก็จะทำให้เรารู้สึกสบายใจมากขึ้น และมีแรงบันดาลใจในการออมเงินมากขึ้นไปอีก

7. เปิดบัญชีเงินออมฉุกเฉิน

  • เงินออมฉุกเฉิน จะเป็นเงินที่เอาไว้ใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉินเท่านั้น เช่น รถเสีย บ้านพัง เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านพัง เป็นต้น
  • วิธีการทำบัญชีเงินออมฉุกเฉินคือ เปิดบัญชีออมทรัพย์ธรรมดา และโอนเงินเก็บในบัญชีนี้ทุกเดือน
  • จำนวนที่ควรมีในบัญชีเงินออมฉุกเฉิน แนะนำว่า ต้องสามารถรองรับค่าใช้จ่ายที่จำเป็นทั้งหมดภายในบ้านได้ ในระยะ 3-6 เดือน
  • สำหรับตัวเลขในบัญชีนั้น อาจปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของแต่ละครอบครัว ว่ามีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง และมีสมาชิกในครอบครัวมากน้อยแค่ไหน

8. ลงทุนในทรัพย์สินที่ถนัด

  • การลงทุนจะเป็นการสร้างความมั่งคั่งในอนาคตที่ยืนยาว และทำให้บรรลุเป้าหมายทางการเงินได้ง่ายขึ้น
  • ควรเลือกลงทุนในทรัพย์สินที่เราถนัดที่สุด และเป็นทรัพย์สินที่เราสามารถยอมรับความเสี่ยงนั้นได้
  • ก่อนลงทุนควรศึกษารายละเอียดให้รอบคอบ เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น

9.ตรวจสอบบัญชีการออมอย่างสม่ำเสมอ

  • การตรวจสอบงบประมาณและตรวจสอบความคืบหน้าของการออมเงินทุกเดือน จะทำให้มองเห็นความคืบหน้าได้ดีขึ้น
  • หากเกิดข้อผิดพลาดอะไรที่ต้องแก้ไข ก็สามารถแก้ไขได้ทันที
  • ควรตรวจสอบบัญชีรายรับ-รายจ่าย และบัญชีเงินออมทุกเดือน จะดีที่สุด เพื่อจะได้หาช่องทางในการลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มรายได้ในช่องทางอื่นๆ ตามความเหมาะสมในครั้งต่อไป

ควรออมเงินเท่าไรในแต่ละเดือน?

  • คุณควรออมเงินเท่าไรในแต่ละเดือนขึ้นอยู่กับไลฟ์สไตล์และรายจ่ายของแต่ละท่าน
  • แต่แนะนำว่าเป้าหมายที่ดีคือ 20% ของรายได้รวมของเราในแต่ละเดือน
  • แต่คุณควรเริ่มออมเงินให้น้อยลงหากรู้สึกว่ามากเกินไป จำไว้ว่า เงินทุกบาททุกสตางค์มีค่า
  • การออมเงินต่อเดือนในจำนวนที่มากเกินไป อาจทำให้กระทบกับค่าใช้จ่ายในส่วนอื่นๆ
  • หากท่านไม่รู้ว่าจะแบ่งเงินออมอย่างไร แนะนำให้ใช้กฎนี้เข้ามาช่วยก็ได้ เรียกว่ากฎ 50-30-20

วิธีใช้กฎ 50-30-20 ในการวางแผนการออมรายเดือนของเรา

  • กฎ 50-30-20 แนะนำให้แบ่งรายจ่ายรายเดือนออกดังนี้คือ
  • 50% ของรายได้ ใช้สำหรับค่าใช้จ่ายที่จำเป็น เช่น ค่าเช่า ค่าน้ำ ค่าไฟ และการชำระหนี้
  • 30% ของรายได้ ไว้สำหรับซื้อหรือจ่ายสิ่งที่คุณอยากจะกินอยากจะได้ เช่น กินอาหารนอกบ้าน สมัครสมาชิกฟิตเนส ไปเที่ยวพักผ่อนต่างจังหวัด
  • 20% ของรายได้ ควรนำไปใช้เพื่อเป้าหมายการออมของเรา

ประโยชน์ของการออมเงิน

มาสำรวจประโยชน์ดีๆ ของการประหยัดเงินกันดีกว่า รวมทั้งแนวคิดบางประการเพื่อช่วยคุณเริ่มต้นได้

1. เพิ่มความปลอดภัยทางด้านการเงิน

  • มีเงินใช้ยามฉุกเฉิน
  • ไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย
  • ได้ทำในสิ่งที่ต้องการ ในสิ่งที่ตนเองชื่นชอบ

2. ลดความวิตกกังวล

  • เมื่อมีเงินเก็บที่เพียงพอ ความรู้สึกกังวลเรื่องเงินก็น้อยลง
  • เงินทำให้เรามีสุขภาพร่างกาย และสุขภาพจิตดีขึ้นได้

3. บรรลุเป้าหมายในชีวิตเร็วขึ้น

  • เงินออมจะช่วยให้เป้าหมายที่เราต้องการ เป็นจริงและสำเร็จได้ง่ายขึ้น เช่น ต้องการดาวน์บ้าน ต้องการซื้อรถคันใหม่ ต้องการเที่ยวรอบโลก เป็นต้น
  • เงินจะช่วยให้เราได้เรียนรู้เรื่องใหม่ๆ อยากรู้อะไรก็เข้าคอร์สเรียนเพิ่มได้ทันที

4. มีความยืดหยุ่นในชีวิตมากขึ้น

  • เวลาที่เรามีอิสรภาพทางการเงิน ก็สามารถเลือกได้เลยว่าจะทำงานหรือไม่ หรือจะเปลี่ยนไปทำอย่างอื่นที่ตัวเองชื่นชอบ เรียกว่าเลือกอะไรก็ได้ ซึ่งคนที่ไม่มีเงินไม่สามารถทำได้เช่นนี้

5. มีความสุขหลังเกษียณ

  • คนที่มีเงินออมเพียงพอ จะทำให้ช่วงชีวิตในวัยเกษียณมีความสุขที่สุด และบางท่านเกษียณก่อนอายุด้วยซ้ำ แล้วไปเดินทางทำตามความฝันของตนเอง
  • คนที่เกษียณได้อย่างมีความสุขนั้น ล้วนแล้วแต่มีนิสัยการออมด้วยกันทุกคน ซึ่งก็เริ่มต้นจากจุดเดียวกันทั้งหมดนั่นเอง

6. ทิ้งมรดกไว้

  • หากตัวเราเสียชีวิตลง เงินออมทั้งหมดก็จะตกเป็นของคนที่เรารัก คนที่อยู่ข้างหนัง ทำให้ไม่ต้องกังวลเรื่องอะไรอีกต่อไป
  • คนที่เรารัก และลูกหลาน สามารถเอาเงินมรดกของเรา ไปใช้ต่อยอดทำอย่างอื่นต่อไปได้ด้วย

สรุปท้ายบท

เป็นอย่างไรบ้าง สำหรับวิธีการออมเงินทั้งหมด จะเห็นว่าความจริงแล้วไม่มีอะไรยุ่งยากเลย เพียงแค่เรายังไม่รู้วิธีการที่ถูกต้องเท่านั้น แต่ถ้าเข้าใจเคล็ดลับแค่นิดเดียว ก็เริ่มต้นออมเงินได้ทันที แล้วคราวนี้ ทุกท่านก็จะมีความมั่งคั่ง และความสุขทางการเงินมากขึ้นกว่าเดิม

แต่ก็ต้องยอมรับว่า การออมเงิน เป็นการเดินทางตลอดชีวิตที่ต้องอาศัยความทุ่มเทอย่างเต็มที่และการวางแผนทางการเงินอย่างละเอียดถี่ถ้วน และต้องมีวินัยที่เข้มแข็ง ถึงจะประสบความสำเร็จในการออมเงินได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็ไม่ได้เกินความสามารถของเราทุกคนอยู่แล้ว อีกอย่าง ขั้นตอนทั้ง 9 ข้อ ก็เป็นขั้นตอนที่ค่อนข้างง่าย ไม่ซับซ้อนด้วย

สุดท้ายนี้ หากทุกท่านทำตามรายละเอียดที่เราได้แนะนำไว้ทั้ง 9 ข้อ และได้ทำตามอย่างเคร่งครัด รับลองได้เลยว่า ทุกท่านจะกลายเป็นคนใหม่ในชั่วข้ามคืน และจะสามารถสร้างความร่ำรวยในอนาคตได้ในไม่ช้า เพียงแค่เราหันมาเริ่มต้นออมเงินวันละเล็กละน้อยให้เป็นนิสัย แค่นี้เอง ไม่ใช่เรื่องยากเลยใช่ไหมครับเพื่อนๆ ทุกคน เรามาเริ่มต้นออมกันตั้งแต่ตอนนี้เลยดีกว่า