หลักการในการลดความเสี่ยงด้านการเงินที่ใช้ได้ผลจริง ช่วยให้ก้าวผ่านวิกฤติเศรษฐกิจไปได้ เมื่อคุณทำตามแนวทางต่อไปนี้ ปัญหาความเสี่ยงทางการเงินของคุณก็จะลดลง
คำจำกัดความความเสี่ยงทางการเงิน
ความเสี่ยงทางการเงิน หมายถึง ปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่สามารถส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการเงินของธุรกิจ หากปัญหานี้ไม่ได้รับการจัดการ ก็อาจส่งผลกระทบต่อกำไรต่ำลงและต้นทุนที่สูงขึ้น และที่เลวร้ายกว่านั้น อาจทำให้ธุรกิจขาดสภาพคล่องทางการเงินได้ ซึ่งความเสี่ยงเกิดได้จากหลายปัจจัย ดังนี้
ปัจจัยภายใน
- การตัดสินใจทางธุรกิจที่ไม่ดี
- รายได้ที่ลดลง
- ฐานลูกค้าน้อยเกิน
- แหล่งรายได้ทางเดียว
- ขาดการบริหารจัดการงบประมาณที่ดี
ปัจจัยภายนอก
- การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจหรือทางการเมือง
- การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยในตลาด
- การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค
- การแข่งขันทางการตลาด
7 วิธีลดความเสี่ยงทางการเงิน
หลังจากที่เราได้เห็นความสำคัญของการบริหารความเสี่ยงทางการเงินไปแล้ว ต่อไปก็จะเป็นหลักการในการปฏิบัติ ว่าสามารถจัดการได้อย่างไรบ้าง
1. กระจายแหล่งรายได้ให้มากกว่า 1 ช่องทาง
- เป็นการเพิ่มช่องทางในการสร้างรายได้จากแหล่งอื่นๆ แทนที่จะพึ่งพาจากรายได้ช่องทางเดียว
- การมีรายได้มากกว่าหนึ่งช่องทาง ช่วยเพิ่มเสถียรภาพของธุรกิจให้แข็งแกร่งมากขึ้น
ตัวอย่างของการเพิ่มช่องทางรายได้ของธุรกิจ
- การนำเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่เพื่อเข้าถึงตลาดและกลุ่มลูกค้าที่หลากหลาย
- การขยายธุรกิจของคุณเข้าสู่ภูมิภาคหรือประเทศใหม่ๆ เพื่อลดการพึ่งพาตลาดเพียงตลาดเดียว
- การกระจายฐานลูกค้าเพื่อพัฒนาฐานลูกค้าที่กว้างขวางกว่าเดิม
- การสำรวจช่องทางการขายเพิ่มเติม เช่น ขายออนไลน์ หรือการขายตรง
2. เก็บเงินสำรองฉุกเฉินให้เพียงพอ
- เป็นการเก็บเงินสดสำรองไว้เพื่อรับมือกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ
- เงินสำรองฉุกเฉินควรครอบคลุมค่าใช้จ่ายที่จำเป็นทุกอย่างอย่างน้อย 6 เดือน
- การมีเงินสำรองฉุกเฉิน จะช่วยเพิ่มเสถียรภาพให้กับธุรกิจ ทำให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น และมีสามารถที่จะดำเนินกิจกรรมต่างๆ ต่อไปแม้ในภาวะเศรษฐกิจไม่แน่นอน
ตัวอย่างในการเก็บบ็บ รักษาเงินสดสำรองให้เพียงพอสำหรับธุรกิจ
- เปิดบัญชีเงินออมสำรองฉุกเฉินโดยเฉพาะ เพื่อครอบคลุมค่าใช้จ่ายที่ไม่คาดคิดหรือรายได้ที่ลดลง
- การวิเคราะห์กระแสเงินสดอย่างสม่ำเสมอเพื่อ รักษาระดับเงินทุนสำรองให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายทุกอย่าง
- การจัดการหนี้และลดระดับหนี้ให้น้อยที่สุด เพื่อเตรียมเงินสดไว้ใช้ในยามฉุกเฉินและโอกาสต่างๆ
3.โอนความเสี่ยงไปยังบริษัทประกันภัย
- ประกันภัยเป็นเครื่องมือในการลดความเสี่ยงทางการเงินที่ดีอีกวิธีหนึ่งที่จะปกป้องธุรกิจให้เสียหายน้อยที่สุดจากภาวะเศรษฐกิจไม่แน่นอน
- ดังนั้นการยอมจ่ายเบี้ยประกันเพื่อแลกกับการได้รับความคุ้มครองจากบริษัทประกันภัย เป็นสิ่งที่คุ้มค่าที่ควรปฏิบัติ
วิธีการเลือกประกันภัย
- เลือกนโยบายประกันภัยต่างๆ ที่เหมาะกับและครอบคลุมกับความต้องการทางธุรกิจของคุณ
- อัพเดตความคุ้มครองประกันภัยเป็นระยะเพื่อให้แน่ใจว่าสอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป
- ประเมินความเสี่ยงที่ธุรกิจของคุณเผชิญและเลือกตัวเลือกประกันภัยที่สามารถจัดการความเสี่ยงเหล่านั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. สร้างการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ
- การบริการงานภายในที่มีประสิทธิภาพเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการลดความเสี่ยงทางการเงินสำหรับธุรกิจ
ตัวอย่างในการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ
- การแบ่งแยกหน้าที่ แบ่งความรับผิดชอบทางการเงิน เพื่อป้องกันการฉ้อโกงและลดข้อผิดพลาดในการทำงาน
- มีตรวจสอบภายในและภายนอกอย่างสม่ำเสมอ เพื่อระบุข้อบกพร่องทางการเงินและปรับปรุงให้เป็นไปตามกฎระเบียบ
- บังคับใช้นโยบายและขั้นตอนทางการเงินที่ชัดเจน เพื่อทำให้การดำเนินงานเป็นมาตรฐาน
- การติดตามกิจกรรมทางการเงินอย่างต่อเนื่อง จะช่วยให้ตรวจพบความผิดปกติหรือความคลาดเคลื่อนได้อย่างทันท่วงทีพร้อมกับแก้ไขได้ทันเวลา
5. การตรวจสอบทางการเงินเป็นประจำ
- ควรตรวจสอบบันทึกทางการเงิน ธุรกรรม และการดำเนินงานต่างๆ ของบริษัทอย่างสม่ำเสมอ เพื่อดูว่ามีความถูกต้อง โปร่งใส และเป็นไปตามข้อกำหนดหรือไม่
- การตรวจสอบทางการเงินอย่างสม่ำเสมอ จะสามารถระบุความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ รวมถึงป้องกันการฉ้อโกง และรักษาเสถียรภาพทางการเงินได้
วิธีการในการทำการตรวจสอบทางการเงินสำหรับธุรกิจ
- ควรเลือกผู้ตรวจสอบบัญชีอิสระที่มีชื่อเสียง เพื่อให้มั่นใจถึงความถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
- ตรวจสอบอย่างครอบคลุม ได้แก่ งบการเงิน ธุรกรรม และกิจกรรมภายในอย่างละเอียดเพื่อหาความเสี่ยงและความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น
- การปรับปรุงการจัดการทางการเงินให้ดีขึ้น โดยใช้ผลการตรวจสอบที่ได้มาเป็นแนวทาง เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
6. การบริหารหนี้สินและลดหนี้สิน
- เป็นการจัดการและลดหนี้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อปรับปรุงสถานะทางการเงินให้ดีขึ้น
ตัวอย่างในการบริหารหนี้สินและลดหนี้สิน
- การวิเคราะห์หนี้สิน เพื่อดูว่าหนี้ประเภทไหนที่ส่งผลกระทบกับธุรกิจมากที่สุด
- สร้างแผนการชำระหนี้ โดยให้ความสำคัญกับหนี้ที่มีดอกเบี้ยสูงก่อน
- เจรจาเงื่อนไขการชำระหนี้ คือการเจรจากับเจ้าหนี้เพื่อหาเงื่อนไขที่สามารถรับไหว เช่น ดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า และขยายระยะเวลาในการชำระหนี้
7. การวางแผนเพื่อรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน
- เป็นการคาดการณ์และเตรียมพร้อมรับมือกับความเสี่ยงทางการเงินที่ไม่คาดคิด เช่น สถานการณ์ทางการเมืองที่เปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหัน ที่ส่งผลกระทบกับธุรกิจของคุณ
ตัวอย่างในการเตรียมพร้อมรับมือกับเหตุการณ์ฉุกเฉิน
- การระบุความเสี่ยง เป็นการระบุความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ ทั้งปัจจัยภายนอกและภายใน
- การจัดตั้งเงินสำรองฉุกเฉิน คือการเตรียมเงินสำรองฉุกเฉินเอาไว้ก้อนหนึ่งโดยเฉพาะ เพื่อใช้รับมือกับเหตุการณ์ไม่คาดคิด อย่างน้อย 3-6 เดือน
- การพัฒนาแผนรับมือฉุกเฉิน เป็นการการดำเนินการที่เอาไว้ใช้รับมือกับเหตุการณ์ฉุกเฉินโดยเฉพาะ
- การทดสอบเป็นประจำ เป็นการทบทวนและทดสอบแผนฉุกเฉินของคุณเป็นระยะๆ เพื่อให้มั่นใจว่าแผนดังกล่าวนี้มีประสิทธิภาพและสามารถใช้งานได้จริง
ความเสี่ยงทางการเงินส่งผลกระทบอย่างไร
ผลกระทบจากความเสี่ยงด้านการเงินจากภาวะเศรษฐกิจไม่แน่นอนนั้น สามารถส่งผลกระทบได้หลายอย่าง ได้แก่
1.การสูญเสีย
- ความเสี่ยงทางการเงินอาจส่งกระทบกับตัวคุณหรือธุรกิจของคุณต้องประสบกับการสูญเสียทางการเงินได้ครั้งใหญ่ได้
2.รายได้ลดลง
- ความเสี่ยงทางการเงินอาจส่งผลกระทบต่อรายได้ที่ลดลงของคุณรวมถึงธุรกิจด้วย
3.หนี้สินที่เพิ่มขึ้น
- ความเสี่ยงทางการเงินอาจนำไปสู่หนี้สินที่เพิ่มขึ้นเพราะต้องสูญเสียรายได้อย่างกะทันหันและมีเงินหมุนเวียนไม่เพียงพอ
4.เครดิตความน่าเชื่อถือลดลง
- หากบุคคลใดหรือธุรกิจใดมีประวัติการประสบปัญหาทางการเงินหรือผิดนัดชำระหนี้ อาจต้องเผชิญกับอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นหรือถูกปฏิเสธสินเชื่อไปเลย
5.ความเครียดและความวิตกกังวล
- ความเสี่ยงทางการเงินอาจทำให้เกิดความเครียดและความวิตกกังวลอย่างมากทั้งตัวบุคคลและธุรกิจ โดยเฉพาะในช่วงที่ยากลำบากและมองไม่เห็นช่องทางในการเอาตัวรอด
กับดักที่ใหญ่ที่สุดในการลดความเสี่ยงทางการเงิน
ถึงแม้ว่าเราจะมีวิธีการและมีเครื่องมือที่ดี ก็ไม่ได้การันตีเสมอไปว่าเราจะจัดการมันได้ เพราะข้อผิดพลาดเกิดขึ้นได้เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเผลอทำ 5 ข้อต่อไปนี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวังอย่างยิ่ง ได้แก่
1. การมองข้ามข้อมูลที่สำคัญ
- ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องหรือล้าสมัยอาจนำไปสู่การตัดสินใจที่ผิดพลาดและเพิ่มความเสี่ยงได้
- ฉะนั้นควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าแหล่งข้อมูลของคุณที่ได้มานั้นเชื่อถือได้และมีการอัปเดตเป็นประจำ
- การลงทุนในเครื่องมือที่ทันสมัยและสามารถประเมินความเสี่ยงได้อย่างแม่นยำและมีประสิทธิภาพ สามารถลดความเสี่ยงทางการเงินให้ดีขึ้นได้
2. ไม่มีแผนการรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน
- การละเลยการวางแผนเพื่อรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน จะทำให้ขาดการเตรียมตัวรับมือกับความเสี่ยงทางการเงินที่เกิดขึ้น
- การขาดแผนการรับมือฉุกเฉินที่มีประสิทธิภาพ จะทำให้สถานะทางการเงินแย่ลงไปอีก เพราะไม่มีการรับมือที่ดี
3. การสื่อสารที่ไม่มีประสิทธิภาพ
- หากคนในองค์กรมีการปกปิดข้อมูลเรื่องความเสี่ยงทางการเงิน อาจทำให้แผนกอื่นไม่สามารถรับมือกับความเสี่ยงเหล่านี้ได้ ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยรวมกับองค์กร
- การสร้างวัฒนธรรมการสื่อสารในองค์กรจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ซึ่งจะทำให้ข้อมูลต่างๆ ถูกสื่อสารออกได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ความเสี่ยงทางการเงินก็จะส่งผลกระทบน้อยลง
4. มองเฉพาะความเสี่ยงในระยะสั้น
- แม้ว่าการจัดการความเสี่ยงเฉพาะหน้าจะเป็นสิ่งสำคัญ แต่การมุ่งเน้นเฉพาะความเสี่ยงในระยะสั้นอาจสร้างข้อผิดพลาดที่ยิ่งใหญ่ในระยะยาว
- การวางแผนจัดการความเสี่ยงที่สมดุลทั้งในระยะสั้นและระยะยาว จะช่วยให้การจัดการความเสี่ยงทางการเงินครอบคลุมมากขึ้น
- การตรวจสอบและประเมินความเสี่ยงทางการเงินอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้รับมือกับความเสี่ยงในระยะสั้นและในระยะยาวมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพราะมีแผนการรับมือที่เหมาะสมกับความเสี่ยงที่เกิดขึ้น
5. ขาดการปรับปรุงแนวทางปฏิบัติในการลดความเสี่ยง
- โลกของการทำธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และความเสี่ยงก็เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย การยึดมั่นในแผนการรับมือที่ล้าสมัยอาจทำให้คุณตกอยู่ในความเสี่ยงได้
- การอัปเดตกลยุทธ์ เครื่องมือ และแผนในการจัดการความเสี่ยงอย่างต่อเนื่องถือเป็นสิ่งสำคัญในการเตรียมพร้อมรับมือกับความเสี่ยงใหม่ๆ ที่อาจเกิดขึ้น
- การหมั่นติดตามข่าวสารและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีจะทำให้แน่ใจว่าแนวทางการจัดการความเสี่ยงทางการเงินของคุณยังคงมีประสิทธิภาพอยู่
สรุปท้ายบท
ความเสี่ยงทางการเงินเป็นสิ่งที่ทุกคนและทุกธุรกิจมีโอกาสเจอได้ในโอกาสใดโอกาสหนึ่ง รวมไปถึงความเสี่ยงด้านอื่นๆ ด้วยที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต บางครั้งเราสามารถหลีกเลี่ยงได้ บางครั้งก็หลีกเลี่ยงได้ และความเสี่ยงก็มีหลายระดับส่งผลกระทบมากน้อยแตกต่างกันไป
เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงขนาดเล็กหรือใหญ่ก็ตาม การลดความเสี่ยงทางการเงินเป็นสิ่งที่ถือว่าจำเป็นที่สุดทั้งตัวของบุคคลและธุรกิจทุกประเภทที่จะต้องก้าวผ่านไปให้ได้ ซึ่งการที่จะก้าวผ่านวิกฤติเหล่านี้ไปได้นั้นก็คือการใช้ 7 วิธีลดความเสี่ยงทางด้านการเงินที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้นนั่นเอง
และสุดท้ายนี้อาจบอกกับทุกท่านว่า วิธีการใดๆ ก็ตาม จะดีที่สุดและมีประสิทธิภาพที่สุดได้ก็ต่อเมื่อเรานำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับตัวเราและธุรกิจของเรา โดยการใช้หลักการที่ถูกต้องเป็นเกณฑ์ เมื่อเราสามารถรับมือกับความเสี่ยงเหล่าจากภาวะเศรษฐกิจไม่แน่นอนได้แล้ว ความเสี่ยงอย่างอื่นก็สามารถผ่านไปได้ด้วยเช่นกัน
คำถามที่พบบ่อย
1. ความเสี่ยงทางการเงินคืออะไร?
ตอบ: ความเสี่ยงทางการเงินคือความเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดการสูญเสียหรือส่งผลกระทบเชิงลบต่อเสถียรภาพทางการเงินของบุคคลหรือธุรกิจ ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุเช่น
1)ความผันผวนของตลาด
2)ความเสี่ยงด้านสินเชื่อ
3)ความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน
4)ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง
5)ปัจจัยอื่นๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อสถานะทางการเงิน
2. คุณสามารถจัดการความเสี่ยงทางการเงินได้อย่างไร?
ตอบ: การจัดการความเสี่ยงทางการเงิน สามารถทำได้โดย
1)การระบุความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
2)การประเมินความน่าจะเป็นและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากความเสี่ยงเหล่านั้น
3)การพัฒนาแผนการรับมือเพื่อจัดการหรือลดความเสี่ยงเหล่านั้น เช่น การกระจายการลงทุน การจัดการกระแสเงินสด การจัดการหนี้ และการพัฒนาแผนรับมือฉุกเฉิน
3. เหตุใดความเสี่ยงทางการเงินจึงมีความสำคัญ?
ตอบ: ความเสี่ยงทางการเงินมีความสำคัญเนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะเกิดการสูญเสียหรือส่งผลกระทบเชิงลบต่อเสถียรภาพทางการเงินของบุคคลหรือธุรกิจ
ดังนั้นการจัดการความเสี่ยงทางการเงินถือเป็นสิ่งสำคัญในการรักษาเสถียรภาพทางการเงินและป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาหรือสูญเสียทางการเงิน