การทำพินัยกรรม คืออะไร ทำยังไง ต้องใช้อะไรบ้าง (วางแผนการเงินสำหรับลูกหลาน)

การทำพินัยกรรม คืออะไร ทำยังไง ต้องใช้อะไรบ้าง

พินัยกรรม เป็นเอกสารลายลักษณ์อักษรที่ระบุสิ่งที่คุณต้องการให้เกิดขึ้นกับทรัพย์สินของคุณหลังจากที่คุณเสียชีวิต หลายคนอาจมองว่าการทำพินัยกรรมเป็นเรื่องไกลตัว ความจริงแล้วเราสามารถทำพินัยกรรมได้ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นคนรวยหรือคนจน เป็นสิ่งที่ควรทำด้วย

สำหรับคนที่กำลังหาวิธีการทำพินัยกรรมที่ถูกต้อง สามารถดูรายละเอียดเกี่ยวกับการเขียนพินัยกรรมต่อไปนี้ได้เลย

พินัยกรรมคืออะไร สำคัญอย่างไร?

พินัยกรรม หรือพินัยกรรมฉบับสุดท้าย เป็นเอกสารทางกฎหมายที่คุณใช้ตัดสินใจว่าจะจัดการอย่างไรกับทรัพย์สินของคุณหลังจากที่คุณเสียชีวิต

พินัยกรรม ไม่ได้หมายความถึงทรัพย์สินของคุณเท่านั้น พินัยกรรมยังอนุญาตให้คุณเลือกบุคคลที่เชื่อถือได้เพื่อดูแลลูกที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของคุณหากเกิดเหตุการณ์บางอย่างขึ้นกับคุณ

นอกจากนี้ คุณยังสามารถใช้พินัยกรรมเพื่อมอบมรดกตกทอดหรือทรัพย์สินของมีค่าให้กับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือเพื่อบริจาคให้กับองค์กรการกุศลที่คุณต้องการสนับสนุนได้อีกด้วย

การทำพินัยกรรมช่วยให้คุณควบคุมมรดกของคุณได้ นอกจากนี้ยังให้ความคุ้มครองและความอุ่นใจแก่คนที่คุณห่วงใยมากที่สุด แล้วคุณจะทำพินัยกรรมของคุณได้อย่างไร?

3 ขั้นตอนการทำพินัยกรรมให้ถูกต้องและถูกกฎหมาย

ในการทำพินัยกรรมที่ถูกต้องตามหลักกฎหมายนั้น ต้องประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 อย่างดังนี้คือ

1. การเลือกรูปแบบพินัยกรรม

การทำพินัยกรรมที่ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด สามารถจำแนกได้เป็น 5 รูปแบบ คือ

1. พินัยกรรมแบบธรรมดา

  • โดยการจัดทำเป็นหนังสือ สามารถเขียนหรือพิมพ์ก็ได้ รวมถึงใช้ภาษาต่างประเทศหรือภาษาไทยก็ได้
  • ระบุวัน เดือน ปีที่ทำพินัยกรรม
  • ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อของตัวเองต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คน และพยานทั้ง 2 คนก็ต้องลงลายมือชื่อรับรองในเอกสารพินัยกรรมด้วย

2. พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ

  • เป็นการจัดทำพินัยกรรมโดยการเขียนเองทั้งหมด โดยการระบุรายละเอียด พร้อมกับลงวัน เดือน ปีที่จัดทำพินัยกรรม
  • ผู้ทำพินัยกรรมลงลายมือชื่อกำกับ (ไม่ต้องมีพยาน)

3. พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง

  • ผู้ทำพินัยกรรมต้องจัดทำพินัยกรรมที่สำนักงานเขต หรือที่ว่าการอำเภอ ต่อหน้าเจ้าหน้าที่ โดยแจ้งความประสงค์ข้อความที่ต้องการระบุในพินัยกรรมของตนแก่เจ้าหน้าที่ที่ทำพินัยกรรม พร้อมกับพยานอย่างน้อย 2 คน ร่วมอยู่ด้วย
  • เจ้าหน้าที่จะจดรายละเอียดตามที่ได้รับแจ้ง พร้อมทั้งอ่านข้อความให้ผู้ทำพินัยกรรมและพยาน 2 คนฟัง
  • หากพินัยกรรมถูกต้อง ผู้ที่ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อพร้อมกับพยานอีกก 2 คน
  • ข้อความที่ระบุในพินัยกรรมนั้น จะต้องมีลายมือชื่อเจ้าหน้าที่ที่จดรายละเอียด พร้อมระบุวันเดือนปีที่จด และจดข้อความว่าพินัยกรรมได้ทำขึ้นอย่างถูกต้องพร้อมกับประทับตราตำแหน่งไว้ในพินัยกรรม

4. พินัยกรรมแบบเอกสารลับ

  • ผู้จัดทำพินัยกรรมทำพินัยกรรมโดยการเขียนหรือพิมพ์ก็ได้ พร้อมกับลงลายมือชื่อตัวเอง
  • ปิดผนึกพินัยกรรมพร้อมทั้งลงลายมือชื่อกำกับคาบรอยผนึก
  • นำพินัยกรรมที่จัดทำเสร็จเรียบร้อยพร้อมปิดผนึกไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานเขต (กทม.) หรือที่ว่าการอำเภอ (ตจว.) พร้อมกับพยานอย่างน้อย 2 คน และแจ้งรายละเอียดต่อบุคคลเหล่านี้ว่าพินัยกรรมนี้เป็นของตนเอง
  • เจ้าหน้าที่จะทำการจดบันทึกถ้อยคำของผู้ทำพินัยกรรม พร้อมกับลงวันเดือนปีที่ทำเขียนพินัยกรรมไว้บนซองและประทับตราตำแหน่ง จากนั้นเจ้าหน้าที่และพยานก็จะลงลายมือชื่อกำกับบนซอง

5. พินัยกรรมแบบวาจา

  • ผู้ที่ต้องการทำพินัยกรรมที่อยู่ในสถานการณ์ที่ไม่สามารถทำพินัยกรรมตามรูปแบบอื่นที่กฎหมายกำหนดได้ เช่น อยู่ในที่อันตราย หรือป่วยหนัก ฯลฯ
  • ผู้จัดทำพินัยกรรมแจ้งข้อความที่ต้องการระบุในพินัยกรรมต่อหน้าพยานที่อยู่ต่อหน้าอย่างน้อย 2 คน
  • พยานทั้งหมดต้องไปที่สำนักงานเขต (กทม.) หรือที่ว่าการอำเภอ (ตจว.) ในทันที พร้อมกับแจ้งข้อความที่ผู้ประสงค์ทำพินัยกรรมสั่งไว้ด้วยวาจา พร้อมระบุรายละเอียดวัน เดือน ปี และสถานที่ทำพินัยกรรม รวมถึงสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือเหตุการณ์จำเป็นที่เกิดขึ้นด้วย
  • เจ้าหน้าที่จดข้อความที่ได้รับแจ้ง พร้อมทั้งให้พยานที่มาแจ้งด้วยทั้ง 2 คน ลงลายมือชื่อ

2. ระบุองค์ประกอบที่สำคัญในพินัยกรรมให้ถูกต้องครบถ้วน

หลักการสำคัญในการทำพินัยกรรมไม่ว่าจะเป็นพินัยกรรมรูปแบบใดก็ตาม ผู้จัดทำพินัยกรรมจะต้องลงรายละเอียดสำคัญต่าง ๆ ในพินัยกรรมให้ถูกต้องครบถ้วน สำหรับองค์ประกอบที่สำคัญในพินัยกรรม ได้แก่

  • ชื่อ-นามสกุล เลขบัตรประจำตัวประชาชน พร้อมที่อยู่อาศัย ของผู้ทำพินัยกรรม
  • วัน เดือน ปี ที่จัดทำพินัยกรรม
  • สถานที่ในการทำพินัยกรรม
  • ข้อความที่แสดงถึงเจตนาว่ามีความประสงค์ให้ทายาทจัดการในเรื่องใด จัดการอย่างไร หลังจากที่ตนเสียชีวิตแล้ว เช่น ต้องการจัดงานศพกี่วัน หรือประสงค์อยากบริจาคร่างให้กับโรงพยาบาล เป็นต้น
  • ข้อความระบุว่าประสงค์ยกทรัพย์สินประเภทใด ให้แก่ทายาทคนใด โดยในส่วนนี้สามารถยกให้ได้เพียงแค่ทรัพย์สมบัติที่เป็นสิทธิของตนอย่างถูกต้องเท่านั้น
  • ให้การข้อความรับรองว่าขณะที่จัดทำพินัยกรรม ผู้จัดทำมีสติครบถ้วนบริบูรณ์

3. ตรวจสอบข้อความต่าง ๆ ให้ถี่ถ้วน

  • เมื่อคุณเลือกรูปแบบของพินัยกรรมได้แล้ว พร้อมกับระบุรายละเอียดข้อความสำคัญแล้ว สิ่งที่ต้องทำอย่างหนึ่งก็คือการอ่านทบทวนอย่างละเอียด เพื่อพิจารณาข้อความที่ระบุเอาไว้นั้นถูกต้องทุกอย่าง ทั้งส่วนสำคัญหลักและองค์ประกอบย่อยอื่นๆ
  • และที่ห้ามพลาดเลยก็คือ การตรวจสอบการลงลายมือชื่อของผู้ที่ทำพินัยกรรม พยานที่รับรอง และเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องในการทำพินัยกรรมให้ครบถ้วน เพื่อเป็นการป้องกันเป็นโมฆะในภายหลัง

เอกสารประกอบในการทำพินัยกรรม

1.บัตรประจำตัวประชาชน

2.ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน

3.เอกสารที่แสดงสิทธิต่างๆ ที่เกี่ยวกับทรัพย์สิน

4.ในกรณีผู้ทำพินัยกรรมอายุ 60 ปี หรือมีอาการเจ็บป่วย จำเป็นต้องมีใบรับรองแพทย์ระบุด้วยว่ามีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ขณะที่ทำพินัยกรรม

5.พยานบุคคล 2 คน

เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับการทำพินัยกรรม

  • ต้องเขียน วัน เดือน ปี ที่ทำพินัยกรรมพร้อมลงลายมือชื่อทั้งผู้ทำพินัยกรรมและผู้ที่เป็นพยานทั้ง 2 คน
  • ผู้ที่เป็นพยานจะต้องมีสติสัมปชัญญะครบถ้วนไม่เป็นผู้เยาว์หรือผู้ที่หย่อนความสามารถ และต้องไม่เป็นผู้ที่ได้รับส่วนได้ส่วนเสียในกองมรดกนั้นด้วย
  • ผู้ที่เป็นพยานในการทำพินัยกรรมจะไม่มีสิทธิที่จะได้รับมรดกในพินัยกรรมนั้น
  • ผู้ที่ทำพินัยกรรมต้องมีอายุ 15 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
  • ในพินัยกรรมควรมีการจัดตั้งผู้จัดการมรดก โดยผู้จัดการมรดก สามารถระบุผู้ทำหน้าที่ผู้จัดการมรดกที่เจ้าของมรดกไว้ใจระบุไว้ในพินัยกรรมไปด้วยได้เลย
  • สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบต่างๆ ก็สามารถระบุลงในพินัยกรรมได้
  • ทรัพย์สินต่างๆ ที่ระบุในพินัยกรรมนั้น จะต้องเป็นทรัพย์สินหรือสิทธิของผู้ทำพินัยกรรมโดยตรงเท่านั้น ในกรณีที่มีคู่สมรส จะต้องแยกทรัพย์สินส่วนตัวออกจากทรัพย์สินสมรสด้วย
  • เงินประกันชีวิต เงินบำเหน็จ-บำนาญ เงินฌาปนกิจสงเคราะห์ ไม่ใช่เป็นมรดกที่สามารถระบุลงในพินัยกรรมได้ เพราะไม่ใช่ทรัพย์ที่เจ้าของมรดกมีอยู่แล้วก่อนเสียชีวิต

4 ข้อผิดพลาดในการทำพินัยกรรม

เพื่อให้การจัดทำพินัยกรรมสมบูรณ์และถูกต้องที่สุด เราต้องรู้จักปัญหาที่ชอบผิดพลาดบ่อยๆ ในการทำพินัยกรรมด้วย มีด้วยกัน 5 ข้อดังต่อไปนี้

1.ข้อผิดพลาดเกี่ยวกับพยาน

  • พยานในพินัยกรรมถือว่าเป็นบุคคลที่สำคัญและมีผลต่อความสมบูรณ์ของพินัยกรรมมาก เพราะกฏหมายกำหนดให้พินัยกรรมแทบทุกประเภทยกเว้นเพียงแต่พินัยกรรมแบบเขียนด้วยลายมือ
  • ต้องเป็นผู้ที่มีอายุ 20 ปีบริบูรณ์หรือบรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต หรือบุคคลที่ไร้ซึ่งความสามารถ หรือเป็นบุคคลที่หูหนวก เป็นใบ้ หรือตาบอดทั้งสองข้าง
  • ที่สำคัญมากคือพยานและคู่สมรสของพยานจะต้องไม่เป็นผู้รับผลประโยชน์ในพินัยกรรมนั้นด้วย

2.ไม่ระบุ วันเดือนปี ที่ทำพินัยกรรม

  • วันเดือนปี ที่ทำพินัยกรรมถือเป็นสาระสำคัญของพินัยกรรม และเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้
  • วันเดือนปี ในการทำพินัยกรรมสามารถบอกได้ว่าในขณะที่ทำพินัยกรรมผู้ทำพินัยกรรมยังมีชีวิตอยู่หรือไม่และขณะที่ทำยังมีสติสัมปชัญญะครบถ้วนหรือไม่

3.ลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมและพยานไม่สมบูรณ์

  • พินัยกรรมแบบธรรมดา ผู้ทำพินัยกรรมสามารถลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วมือก็ได้ ซึ่งต้องกระทำต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คนพร้อมกัน
  • พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ ผู้ทำพินัยกรรมจะต้องลงลายมือชื่อเท่านั้น จะไม่สามารถพิมพ์ลายนิ้วมือได้
  • ในส่วนของพยานนั้นต้องลงลายมือชื่ออย่างเดียวจะไม่สามารถพิมพ์ลายนิ้วมือได้ ในเรื่องนี้ถือเรื่องที่สำคัญมาก เพราะเกิดขึ้นบ่อย ต้องศึกษาให้ถี่ถ้วนก่อนทำ

4.มีการแก้ไขพินัยกรรม

  • ความจริงแล้วพินัยกรรมที่ทำขึ้นแล้วสามารถแก้ไขได้ แต่ทุกจุดที่มีการแก้ไขจะต้องมีการลง วันเดือนปี และลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วมือของผู้ทำพินัยกรรม
  • รวมถึงหากเป็นพินัยกรรมแบบมีพยานจะต้องมีการลงลายมือชื่อของพยานรับรองด้วย

ทำไมคุณจึงควรเขียนพินัยกรรม?

บางคนอาจคิดว่าการทำพินัยกรรมไม่ใช่เรื่องสำคัญอะไร ต่อไปนี้คือเหตุผล 10 ประการว่าทำไมการเขียนพินัยกรรมจึงสำคัญ และเป็นสิ่งที่ควรทำ

1.ควบคุมทรัพย์สินของคุณ

  • ความกังวลหลักของคนส่วนใหญ่เมื่อเขียนพินัยกรรมคือ เพื่อให้แน่ใจว่าเงินและทรัพย์สินของตนทั้งหมดจะถูกแบ่งตามวิธีที่ตนเองต้องการและกำหนดเอาไว้แล้ว

2.ลดความเครียดของญาติของคุณ

  • หลังจากคนที่คุณรักเสียชีวิต งานเอกสารราชการและการจัดการต่างๆ มากมายอาจล้นมือ การเขียนพินัยกรรมจะช่วยบรรเทาปัญหาเหล่านี้ได้

3.หลีกเลี่ยงการโต้เถียง

  • ครอบครัวของคุณและผู้รับผลประโยชน์คนอื่นๆ จะแจ้งความต้องการของคุณอย่างชัดเจน ทำให้มีข้อโต้แย้งน้อยลงว่าใครควรได้รับอะไรบ้าง

4.จัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ

  • สำหรับบุตรหลานของคุณหากคุณมีบุตรอายุต่ำกว่า 18 ปี คุณสามารถระบุได้ว่าใครคือผู้ปกครองของบุตรของคุณในพินัยกรรมได้เลย แทนที่จะมอบอำนาจให้ศาลเป็นผู้ตัดสินใจ

5.ระบุความประสงค์ในการจัดงานศพของคุณให้ชัดเจน

  • พินัยกรรมเป็นส่วนหนึ่งที่คุณสามารถระบุประเภทของงานศพที่คุณต้องการได้ เช่น คุณต้องการฝังศพหรือเผาศพ รูปแบบการจัด รวมถึงเลือกเพลงประกอบพิธีศพได้ด้วย

6.หลีกเลี่ยงกฎเกณฑ์การตายโดยไม่มีพินัยกรรม

  • หากคุณเสียชีวิตโดยไม่ได้ทำพินัยกรรม ทรัพย์สินของคุณจะถูกแบ่งตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ไม่ใช่ตามเจตนาของคุณที่วางเอาไว้

7.บริจาคให้กับองค์กรหรือองค์กรการกุศล

  • ไม่ใช่แค่ผู้คนเท่านั้นที่จะได้รับประโยชน์จากเจตนารมณ์ของคุณ แต่รวมถึงองค์กรและมูลนิธิที่คุณต้องการให้การสนับสนุนด้วย

8.ดูแลสัตว์เลี้ยงของคุณ

  • พินัยกรรม ของคุณอาจระบุข้อกำหนดเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงที่คุณมี เช่น ใครจะเป็นผู้ดูแลพวกมันหลังคุณเสียชีวิต

สรุปท้ายบท

การทำพินัยกรรมวางแผนจัดการมรดก ช่วยให้คุณรู้สึกสบายใจ แต่ไม่ใช่แค่เพียงนั้น เพราะยังช่วยให้คนที่คุณรักได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีดำเนินชีวิตต่อไปเมื่อคุณจากไปแล้ว ทำให้ทุกคนที่คุณรักสามารถได้รับประโยชน์จากการวางแผนจัดการมรดกที่ระบุไว้ในพินัยกรรม

การทำพินัยกรรมมีความสำคัญ เพราะเป็นสิ่งสุดท้ายอย่างหนึ่งที่คุณจะทำเพื่อครอบครัวได้หลังจากที่คุณจากไป ในขณะที่พวกเขากำลังโศกเศร้ากับการสูญเสียของคุณ

คนที่อยู่ข้างหลังจะไม่ต้องเดาว่าคุณต้องการอะไร และพวกเขาจะไม่ต้องรับมือกับความเครียด (และค่าใช้จ่าย) จากการทะเลาะกันในศาลเรื่องทรัพย์สินและมรดกของคุณ

และสุดท้ายหากคุณเสียชีวิตโดยไม่มีพินัยกรรมก็ไม่รับประกันว่าความปรารถนาของคุณจะเป็นที่ทราบหรือปฏิบัติตาม ดังนั้น การเริ่มต้นจัดทำพินัยกรรมตั้งแต่วันนี้ ในขณะที่คุณมีสติสัมปชัญญะดีและสุขภาพยังดีอยู่

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *